Hetalia: Axis Powers - Iceland

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

โภชนการสำหรับนักวิ่งมาราธอน

โภชนาการสำหรับนักวิ่งมาราธอน








การเตรียมตัวสำหรับนักวิ่ง นอกจากจะมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นอย่างยิ่งคือการรับประทานอาหาร ที่จะช่วยให้นักวิ่งมีพละกำลัง และสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ขณะวิ่ง รวมถึงการชดเชยพลังงาน การฟื้นฟูร่างกายภายหลังจากการวิ่ง ดังนั้น นักวิ่งจึงควรมีการวางแผนการรับประทานอาหารเป็นขั้นตอน ช่วงก่อน ระหว่างและหลังการแข่งขันเพื่อให้ร่างกายฟิตสมบูรณ์ที่สุด มีความทนทานและสามารถวิ่งด้วยสมรรถภาพที่ดีไปตลอดการแข่งขัน ซึ่งแบบแผนการรับประทานอาหารแบ่งออกตามช่วงต่างๆ ดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 
1 : 5 วันก่อนวิ่ง
การเตรียมตัวช่วง 5 วันก่อนแข่งควรเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารให้สูงขึ้นตามระยะเวลาการฝึกซ้อมหรือระยะที่สอดคล้องกับการแข่งขันเพื่อเป็นการสะสมพลังงานสำรองในรูปไกลโคเจน ร่างกายสามารถสะสมไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อ 80% ที่ตับ 14% ส่วนอีก 6% จะอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด
จากงานวิจัยของ ดร.Asker Jeukendrupมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เปรียบเทียบการวางแผนการรับประทานอาหารของนักวิ่ง เป็นระยะเวลา 11 วันก่อนวิ่ง กลุ่มแรก ใช้คาร์โบไฮเดรตต่ำ ร้อยละ41 กลุ่มที่สองใช้คาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 65 พบว่า กลุ่มนักวิ่งที่ใช้คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 41 รู้สึกเหนื่อย และอ่อนแรงเร็วขึ้น ขณะที่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 65สามารถรักษาระดับพลังงานและสมรรถภาพในการวิ่งไปจนจบการแข่งขันได้ จากงานวิจัยสรุปว่า นักวิ่งที่สะสมไกลโคเจนในร่างกายน้อยมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพร่างกายที่ลดลง มีความเหนื่อยล้ามากขึ้น

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำสำหรับนักวิ่ง ช่วงเตรียมตัว 
5 วัน ก่อนวิ่ง
ระยะเวลาในการวิ่ง ปริมาณคาร์โบไฮเดรต
30 นาที - 1 ชั่วโมง / วัน 2-4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
1-3 ชั่วโมง / วัน 4-6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
3-4 ชั่วโมง / วัน 5-8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
มากกว่า 4 ชั่วโมง / วัน 8-10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตัวอย่างเช่น
 นักวิ่งเพศชาย หนัก 70 กิโลกรัม ฝึกซ้อมการวิ่งมาราธอนเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงต่อวัน มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตประมาณ 350 - 560กรัมต่อวัน
ตัวอย่างแป้ง ธัญพืช ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตในอาหาร 15-18 กรัม
ข้าวสวย 5 ช้อนโต๊ะ ก๋วยเตี๋ยวลวก 8 ช้อนโต๊ะ
ข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ ข้าวโพด ½ ฝัก
ขนมปัง 1 แผ่น ขนมปังเบอร์เกอร์ ½ คู่
วุ้นเส้นลวก/เส้นหมี่ลวก 10 ช้อนโต๊ะ มันหวาน / เผือก ½ ถ้วยตวง
ข้าวโอ๊ต/ซีเรียล ½ ถ้วยตวง โจ๊ก 1 ถ้วยตวง
มักกะโรนี / สปาเก็ตตี้ ½ ถ้วยตวง ข้าวต้ม ¾ ถ้วยตวง
แครกเกอร์ 2.5x2.5 นิ้ว 2 แผ่น ขนมจีน 1 จับเล็ก
คุ๊กกี้ 2 ชิ้น บราวนี่ 1 ชิ้น
โดนัท 1 ชิ้น แยม 1 ช้อนโต๊ะ
ช็อคโกแลต 4 ชิ้น วุ้นกะทิ 1 ชิ้น
การเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานพบว่า การผสมผสานระหว่างคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนให้ประสิทธิภาพในการส่งเสริมสมรรถภาพของนักวิ่งได้เป็นอย่างดี

ช่วงที่ 
21 วันก่อนวิ่ง
รับประทานอาหารอาหารปกติ เมนูที่คุ้นเคย หรือที่เคยรับประทานอยู่เป็นประจำให้ครบมื้อ ปริมาณข้าวแป้ง คาร์โบไฮเดรตสูงเท่าเดิมเหมือน 5 วันที่ผ่านมา รับประทานแหล่งของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ย่อยง่าย เช่น ปลานึ่ง ปลาย่าง ไก่ย่างไม่ติดหนัง ผัดผัก ผักลวก งดรับประทานผักสดและผลไม้ปริมาณมาก งดอาหารประเภท ส้มตำ ยำรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารทะเลปิ้งย่าง ปลาดิบ อาหารกากใยสูง ถั่วต่างๆ ปริมาณมาก เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือกระตุ้นการขับถ่ายท้องช่วงก่อนวิ่งในวันรุ่งขึ้น

ช่วงที่ 
31-2 ชั่วโมงก่อนวิ่ง
โดยปกติการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอน มักจะจัดขึ้นช่วงเช้ามืด ดังนั้น นักวิ่งควรมีการเตรียมพร้อมร่างกายและเตรียมตัวรับประทานอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนลงทำการแข่งขัน
ตัวอย่างอาหารที่เหมาะสมในช่วงนี้ ควรเป็นอาหารย่อยง่ายให้พลังงานสูง เช่น มันหวาน ข้าวโอ๊ตขนมปังทาแยม แซนวิชทูน่า วาฟเฟิ้ล โดนัท ขนมปังสังขยา ขนมปังลูกเกด ครัวซอง บัตเตอร์เค้ก ข้าวเหนียวหมูหวาน/หมูฝอย ข้าวเหนียวสังขยา โจ๊กใส่ไข่ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ไขมันสูง ย่อยยาก กากใยสูง หรือ นักวิ่งบางรายที่ดื่มนมหรือกาแฟตอนเช้ามักจะมีอาการท้องเสีย หรือกระตุ้นการขับถ่าย อาจจะต้องงด กลุ่มนมหรือกาแฟไปก่อนในวันแข่งขัน

ช่วงที่ 
4 : ขณะวิ่ง
ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรต 30-60 กรัมต่อชั่วโมงในการวิ่งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การวิ่งอาหารที่เหมาะสมสำหรับนักวิ่งช่วงนี้ ควรจะอยู่ในรูปแบบน้ำ เจล แบบเม็ดเคี้ยวง่ายๆ ย่อยง่ายไม่หนักท้อง แน่นท้อง เช่น เจลซองพร้อมดื่มสำหรับนักกีฬา เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ ช็อคโกแลต เยลลี่เป็นต้น
ส่วนการดื่มน้ำขณะวิ่ง ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากทีเดียว เนื่องอาจจะทำให้เกิดการจุก แน่นท้อง ควรจิบปริมาณน้อยๆ เรื่อยๆ ตามจุดที่พักให้น้ำ

ช่วงที่ 
5หลังวิ่ง ภายใน 1 ชั่วโมง
ภายหลังจากการวิ่งเสร็จ ร่างกายจะเกิดภาวะพร่องไกลโคเจน จึงจำเป็นต้องชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปขณะวิ่ง หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือช้าไป อาจทำให้ร่างกายเกิดการอ่อนล้า ฟื้นตัวช้า เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ง่าย สารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ คาร์โบไฮเดรตเพื่อให้พลังงานและเติมไกลโคเจนกลับคืนให้แก่ร่างกาย
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการวิ่งควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เพื่อนำไปใช้ชดเชยพลังงานอย่างทันทีทันใด รวมไปถึงแร่ธาตุที่จำเป็นได้แก่โซเดียม ได้แก่ เครื่องดื่มนักกีฬา นมช็อคโกแลต น้ำผลไม้ ขนมปังสังขยา วาฟเฟิ้ล โดนัท บัตเตอร์เค้ก ยังรวมไปถึงผลไม้ ที่มีน้ำมากและแร่ธาตุโพแทสเซียม เช่น แตงโม สับปะรด ส้ม กล้วย เป็นต้น
นอกจากนี้โปรตีนยังจำเป็นในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการล้า อ่อนเพลีย และฟื้นฟูอาการบาดเจ็บภายหลังจากการวิ่งได้ ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมภายหลังการวิ่ง ได้แก่ นมสด, นมถั่วเหลือง, ลูกชิ้นปิ้ง โปรตีนบาร์ เวย์โปรตีน, ซาลาเปาหมูสับ, ขนมจีบ, แซนวิชทูน่า, ไข่ต้ม, ถั่ว, ขนมถั่วกวน
ภายหลังจากการวิ่งหากน้ำหนักตัวลดลง ปากแห้ง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เวียนศีรษะ อ่อนเพลียแสดงว่าร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำเป็นอย่างมาก ควรดื่มน้ำอุณหภูมิเย็นพอควรเพื่อดับกระหาย ให้สดชื่นและชดเชยน้ำที่สูญเสียไปในขณะวิ่งให้เพียงพอ จนกระทั่งอาการดังกล่าวดีขึ้น
............................................................................ที่มา...........................................................................
 See more at: https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/nutrition-for-runners#sthash.Ue1r4JwX.dpuf

ข้อมูลโดย เอกสิทธิ์ จิตธรรม
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การพัฒนาสมองสู่ความเป็นอัจฉริยะ

การพัฒนาสมองสู่ความเป็นอัจฉริยะ(Article : Genius formation)
วิธีการพัฒนาสมอง
การพัฒนาสมอง เริ่มต้นได้ทันที เนื่องจากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตื่นนอนควบคุมโดยสมอง การเข้าใจกลไกการใช้สมองหรือ การเข้าใจวิธีการคิดเป็นหัวใจสำคัญ การดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเป็นการทำงานขั้นพื้นฐาน(Basic instinct) กิน นอน ขับถ่าย สืบพันธุ์ ต่อสู้ หลบหนี อารมณ์พื้นฐาน การเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจวัตรประจำวัน ส่วนการทำงานขั้นสูง ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นคือการคิด การเรียนรู้ การเข้าใจวิธีการคิดหรือเข้าใจวัตถุประสงค์พัฒนาสมองเพื่อความฉลาด
เข้าใจความฉลาด ความสามารถในการใช้สมองคิด เลือกเฟ้นสิ่งที่ดีแก่ตน เช่น เลือกคำตอบที่ถูกจากการสอบ ทำให้สอบได้คะแนนสูง สามารถแก้ปัญหาได้ คนแต่ละคนจึงแตกต่างกันที่ระดับสติปัญญา หรือความฉลาด อัจฉริยะ ความฉลาดอย่างมาก เกิดได้จาก พันธุกรรม ที่มีมาแต่กำเนิด ฉลาดแต่กำเนิด ในที่นี้ เน้นการสร้างอัจฉริยะจากการฝึกพัฒนาสมอง ให้รู้จักวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถคิดดี คิดถูกต้องและคิดได้อย่างรวดเร็ว
กระบวนการคิด เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการ การตอบสนอง แล้วย้อนกลับมาที่เริ่มคิด มีนักคิดหลายท่านทำการศึกษาค้นคว้า ซึ่งอาจสรุปเป็นกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาความจริงคิดอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ การคิดเชิงจินตนาการ การสร้างรูปแบบต่างๆเชิงศิลปะใช้อารมณ์และจินตนาการ
การคิดแบบวิเคราะห์(การคิดแบบแยกส่วน,ขยายความ),การคิดแบบสังเคราะห์(การคิดแบบสรุปข้อมูล,สรุปใจความสำคัญ)เป็นสิ่งสำคัญของการเกิดวิชาการต่างๆจาการสร้างความรู้และศึกษาถ่ายทอดต่อมาซึ่งมีการสร้างความรู้อย่างต่อเนื่อง การใช้สมองนั้นเป็นการคิดทั้ง2แบบรวมกัน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลเป็นความรู้ การตอบสนองโดยการนำความรู้มาใช้ ซึ่งความฉลาดจะเกิดขึ้นได้จาก ประสบการณ์การเรียนรู้ สะสม จนรู้จักสังเคราะห์ความรู้เป็นของตนเอง หรือรู้จักคิด
ลองเริ่มต้นสร้างความฉลาดโดยการวิเคราะห์กระบวนการใช้สมองเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ 


1.ความมุ่งหมาย(Aim) กำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิตหรือกิจกรรมที่จะทำ,จะประกอบอาชีพอะไร,อะไรเป็นอุปสรรค,หนทางแก้ไข,จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออะไร,ควรมีความรู้ในอาชีพและความรู้รอบตัว

2.สติสัมปัชัญญะ(Perception)

ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก มีสติที่จะรู้จักและควบคุมความคิด ให้พยายามที่จะดูอย่าเพียงแต่จะเห็น ให้พยายามที่จะฟังอย่าเพียงแต่ได้ยิน

3.ความสังเกต(Observation)

ดูสิ่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนทำความสังเกตให้ถูกต้อง สามารถแยกแยะความเหมือนหรือความแตกต่าง

4.สมาธิ(Concentration)

การตั้งใจมั่นอยู่ในสิ่งเดียวที่เราทำ ให้มีสมาธิก่อนทำการใดๆ ควรรู้ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดดีหรือไม่ คิดถูกต้องหรือไม่ สิ่งที่จะทำควรทำหรือไม่ เมื่อทำแล้วผลลัพธ์จะเป็นเช่นใด

5.มโนคติ(Imagination)

การเห็นรูปด้วยใจ การมองเห็นการที่จะเป็นไปในภายหน้า การฝึกในทำนองฝึกจินตนาการฝันกลางวันเห็นภาพหรือเรื่องราว เช่นเดียวกับนักเขียนแต่งบทละคร มโนคติย่อมปกครองโลก

6.ความจำ(Memory)

ฝึกความจำโดยทำใจให้เป็นสมาธิ,มีความละเอียดสังเกตต่อเนื่อง,การเทียบเคียง,ทำเครื่องหมาย,ฝึกจำตัวเลขตอนเช้า ถ้าจำไม่ได้อาจใช้วิธีการเรียนซ้ำๆ เช่นเขียนข้อความที่ต้องการจำติดผนังอ่านซ้ำทุกวันจนกว่าจะจำได้

7.ความคิดปลอดโปร่ง(Clear thinking)

ไม่ปล่อยให้มีความสงสัย,มีความละเอียดแยกเรื่องออกเป็นส่วน,ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย,ทำสิ่งที่ยากให้ง่าย การมีสมองปลอดโปร่งปราศจากสิ่งรบกวนทำให้คิดเห็นได้อย่างชัดเจน

8.การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง(Right reasoning)

แสวงหาความจริงและเหตุผล

9.ความวินิจฉัยถูกต้อง(Good judgement)

เมื่อความจริงยังไม่เด่นชัด,และยังหาเหตุผลไม่ได้เพียงพอ ใช้ความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ลังเล ตัดสิน หากวินิจฉัยผิดพลาด เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นก็วินิจฉัยใหม่ให้ถูกต้องและจดจำไว้เป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ผิดซ้ำ (เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อไม่วินิจฉัยผิด)

10.ไหวพริบ(Intuition)

ทราบได้โดยมิต้องไตร่ตรอง,สังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือน,ปฏิบัติการได้ทันท่วงที ฝึกหัดเทียบเคียง,คิดให้ลึกซึ้ง,จำสุภาษิต เป็นการคิดได้อย่างรวดเร็ว

11.การโต้เถียง(Argument)

เอาชนะโดยใช้เหตุผล,แยกข้อโต้เถียงออกเป็นข้อ,ไม่ควรโต้เถียง เมื่อมีโทสะ,เรื่องไม่เป็นแก่นสาร,เรื่องที่ตกลงกันไม่ได้,คนไม่มีความคิด

12.ความฉลาด(Intelligent)

รู้เห็นตามที่เป็นจริง,รู้จักเลือกเฟ้น,เป้าหมายของการฝึกมาทั้งหมด ฝึกแสดงความคิดเห็นของตนเอง,แสวงหาประโยชน์จากทุกสิ่งที่เห็น,มีอิสระทางความคิด,หัดเปรียบเทียบ

13.การแนะนำตนเอง(Auto-suggestion)

รู้จักตนเอง มีตนเป็นที่พึ่ง เช่น เรามีความจำดี,ทำใจเป็นสมาธิ,พูดออกมาและคิดสม่ำเสมอ

14.การชนะตนเอง(Self-control)
ที่ฝึกมาทุกข้อเพื่อการรู้จักฝืนใจตัวไม่ทำสิ่งที่ผิด ทำในสิ่งที่ถูก การชนะใจตนเองเป็นความชนะที่ดีที่สุด และแสดงถึงความฉลาดที่เกิดขึ้นในการควบคุมความคิดและการแสดงออกด้วยการพูดและการกระทำ

สามารถพัฒนาโดยการฝึกสมองหัดสร้างความคิดให้เกิดแก่ตน เป็นการสรุปใจความสำคัญที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องใช้ทุกหัวข้อที่วิเคราะห์แยกส่วนให้เข้าใจกระบวนการคิดรวมเข้าด้วยกัน ผู้ใดเข้าใจและนำไปใช้ได้ย่อมเกิดการพัฒนาทักษะการคิดอันนำไปสู่ความฉลาด สร้างความสุขแก่ตนโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น

การเรียนรู้สู่ความเป็นอัจฉริยะนั้น ไม่เป็นการกำหนดขอบเขต หรือการกดขี่ทางความคิด ความฉลาดไม่สามารถกำหนดโดยตัวเลขหรือเครื่องมือวัดถุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากความฉลาดไม่มีขอบเขต การเป็นอิสระที่จะคิดในเรื่องที่ควรคิดเป็นหนทางสู่ความเป็นอัจฉริยะซึ่งอาจคิดไม่เหมือนผู้อื่น หรือคิดในสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง ทีสำคัญคือการกำเนิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเกิดศาสตร์สาขาต่างๆขึ้นมากมายรวมทั้งวิทยาศาสตร์ จากนักคิด อัจฉริยะยุคต่างๆจนถึงปัจจุบันและการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งต่างๆมากมาย ดังนั้นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆที่ตนสนใจ

ยกตัวอย่างเช่น ศาสดาของศาสนาต่างๆ ที่คิดหาหนทางพ้นทุกข์ หาทางเพื่อความสุขสงบ โดยไม่ได้ไปศึกษาค้นคว้าที่สถาบันใดๆมาก่อนแต่ให้กำเนิดศาสนาซึ่งไม่มีผู้ใดเคยคิดมาก่อน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องวัดไอคิวของอัจฉริยะเหล่านั้นที่ฉลาดกว่ามนุษย์ปัจจุบันซึ่งกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ไม่อาจกำหนดได้
นักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็คิดเรื่องต่างๆสำเร็จได้ในเวลาที่ไม่ได้คิด

พัฒนาสมองสู่ความเป็นเลิศ อิสระทางความคิดที่ไร้ขอบเขต ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันที่มีสมองมีความคิด การอบรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่อยากจะเป็นอัจฉริยะ และอัจฉริยะสร้างได้ทันที ที่รู้จักคิด

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติ รัชกาลที่ 9


พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงพระราชสมภพ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”
พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน
พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช”
พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์

ครองราชย์

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหิน เพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทางชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมากถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการใน พระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน

พระบรมราชาภิเษก


วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษา พระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
  1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
  2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
  3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน


ชีวิตของการเป็นหมอ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560


hello👋🏻👋🏻👋🏻




สวีดัสสส🤗🤗 
ชื่อ ... นางสาว อนันดา ใจอารีย์ 
ชื่อเล่น กิ๊ฟ👩🏼‍⚕️👮🏻‍♀️
🔺ศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/1🔺
อายุ 16 ปี 
เกิดวันที่ 26 ธันวาคม 2543👼🏻
อาชีพในฝัน แพทย์ทหาร👨‍✈️⚓️🚁💉🌡👩🏼‍⚕️
สีที่ชอบ สีเขียว
อาหารที่ชอบ ว ผัดกระเพรา อาหารจำพวกปลา
ขนมว่างที่ชอบ ; ฮั้นนี่โทส ปังเย็น
สถานะ;โสด
กรุ๊ปเลือด AB
เวลาว่าง ; ฟังเพลง 
เพื่อนสนิท  🙇🏼🙎🏼‍♂️👮🏻‍♀️
  นางสาว กัญญาวรรณ  ศิลา
  นางสาว ฉัตรพร ชัยสูตร
  นางสาว มุกสราลี รังสินารา
  นางสาว มณฑิตา สุขขี
................................................................................................................................................................
ข้อมูลติดต่อ 
Facebook ; ananda jaiaree
e-mail ananda30135@hotmail.com

 เป็นนักวิ่งงงงงงงง

เพื่อนสนิท