Hetalia: Axis Powers - Iceland

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การพัฒนาสมองสู่ความเป็นอัจฉริยะ

การพัฒนาสมองสู่ความเป็นอัจฉริยะ(Article : Genius formation)
วิธีการพัฒนาสมอง
การพัฒนาสมอง เริ่มต้นได้ทันที เนื่องจากทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตื่นนอนควบคุมโดยสมอง การเข้าใจกลไกการใช้สมองหรือ การเข้าใจวิธีการคิดเป็นหัวใจสำคัญ การดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเป็นการทำงานขั้นพื้นฐาน(Basic instinct) กิน นอน ขับถ่าย สืบพันธุ์ ต่อสู้ หลบหนี อารมณ์พื้นฐาน การเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจวัตรประจำวัน ส่วนการทำงานขั้นสูง ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นคือการคิด การเรียนรู้ การเข้าใจวิธีการคิดหรือเข้าใจวัตถุประสงค์พัฒนาสมองเพื่อความฉลาด
เข้าใจความฉลาด ความสามารถในการใช้สมองคิด เลือกเฟ้นสิ่งที่ดีแก่ตน เช่น เลือกคำตอบที่ถูกจากการสอบ ทำให้สอบได้คะแนนสูง สามารถแก้ปัญหาได้ คนแต่ละคนจึงแตกต่างกันที่ระดับสติปัญญา หรือความฉลาด อัจฉริยะ ความฉลาดอย่างมาก เกิดได้จาก พันธุกรรม ที่มีมาแต่กำเนิด ฉลาดแต่กำเนิด ในที่นี้ เน้นการสร้างอัจฉริยะจากการฝึกพัฒนาสมอง ให้รู้จักวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถคิดดี คิดถูกต้องและคิดได้อย่างรวดเร็ว
กระบวนการคิด เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการ การตอบสนอง แล้วย้อนกลับมาที่เริ่มคิด มีนักคิดหลายท่านทำการศึกษาค้นคว้า ซึ่งอาจสรุปเป็นกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาความจริงคิดอย่างมีเหตุผลจากสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามหลักการวิทยาศาสตร์ การคิดเชิงจินตนาการ การสร้างรูปแบบต่างๆเชิงศิลปะใช้อารมณ์และจินตนาการ
การคิดแบบวิเคราะห์(การคิดแบบแยกส่วน,ขยายความ),การคิดแบบสังเคราะห์(การคิดแบบสรุปข้อมูล,สรุปใจความสำคัญ)เป็นสิ่งสำคัญของการเกิดวิชาการต่างๆจาการสร้างความรู้และศึกษาถ่ายทอดต่อมาซึ่งมีการสร้างความรู้อย่างต่อเนื่อง การใช้สมองนั้นเป็นการคิดทั้ง2แบบรวมกัน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลเป็นความรู้ การตอบสนองโดยการนำความรู้มาใช้ ซึ่งความฉลาดจะเกิดขึ้นได้จาก ประสบการณ์การเรียนรู้ สะสม จนรู้จักสังเคราะห์ความรู้เป็นของตนเอง หรือรู้จักคิด
ลองเริ่มต้นสร้างความฉลาดโดยการวิเคราะห์กระบวนการใช้สมองเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ 


1.ความมุ่งหมาย(Aim) กำหนดจุดมุ่งหมายในชีวิตหรือกิจกรรมที่จะทำ,จะประกอบอาชีพอะไร,อะไรเป็นอุปสรรค,หนทางแก้ไข,จุดมุ่งหมายสูงสุดคืออะไร,ควรมีความรู้ในอาชีพและความรู้รอบตัว

2.สติสัมปัชัญญะ(Perception)

ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก มีสติที่จะรู้จักและควบคุมความคิด ให้พยายามที่จะดูอย่าเพียงแต่จะเห็น ให้พยายามที่จะฟังอย่าเพียงแต่ได้ยิน

3.ความสังเกต(Observation)

ดูสิ่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนทำความสังเกตให้ถูกต้อง สามารถแยกแยะความเหมือนหรือความแตกต่าง

4.สมาธิ(Concentration)

การตั้งใจมั่นอยู่ในสิ่งเดียวที่เราทำ ให้มีสมาธิก่อนทำการใดๆ ควรรู้ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดดีหรือไม่ คิดถูกต้องหรือไม่ สิ่งที่จะทำควรทำหรือไม่ เมื่อทำแล้วผลลัพธ์จะเป็นเช่นใด

5.มโนคติ(Imagination)

การเห็นรูปด้วยใจ การมองเห็นการที่จะเป็นไปในภายหน้า การฝึกในทำนองฝึกจินตนาการฝันกลางวันเห็นภาพหรือเรื่องราว เช่นเดียวกับนักเขียนแต่งบทละคร มโนคติย่อมปกครองโลก

6.ความจำ(Memory)

ฝึกความจำโดยทำใจให้เป็นสมาธิ,มีความละเอียดสังเกตต่อเนื่อง,การเทียบเคียง,ทำเครื่องหมาย,ฝึกจำตัวเลขตอนเช้า ถ้าจำไม่ได้อาจใช้วิธีการเรียนซ้ำๆ เช่นเขียนข้อความที่ต้องการจำติดผนังอ่านซ้ำทุกวันจนกว่าจะจำได้

7.ความคิดปลอดโปร่ง(Clear thinking)

ไม่ปล่อยให้มีความสงสัย,มีความละเอียดแยกเรื่องออกเป็นส่วน,ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย,ทำสิ่งที่ยากให้ง่าย การมีสมองปลอดโปร่งปราศจากสิ่งรบกวนทำให้คิดเห็นได้อย่างชัดเจน

8.การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง(Right reasoning)

แสวงหาความจริงและเหตุผล

9.ความวินิจฉัยถูกต้อง(Good judgement)

เมื่อความจริงยังไม่เด่นชัด,และยังหาเหตุผลไม่ได้เพียงพอ ใช้ความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ลังเล ตัดสิน หากวินิจฉัยผิดพลาด เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นก็วินิจฉัยใหม่ให้ถูกต้องและจดจำไว้เป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ผิดซ้ำ (เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อไม่วินิจฉัยผิด)

10.ไหวพริบ(Intuition)

ทราบได้โดยมิต้องไตร่ตรอง,สังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือน,ปฏิบัติการได้ทันท่วงที ฝึกหัดเทียบเคียง,คิดให้ลึกซึ้ง,จำสุภาษิต เป็นการคิดได้อย่างรวดเร็ว

11.การโต้เถียง(Argument)

เอาชนะโดยใช้เหตุผล,แยกข้อโต้เถียงออกเป็นข้อ,ไม่ควรโต้เถียง เมื่อมีโทสะ,เรื่องไม่เป็นแก่นสาร,เรื่องที่ตกลงกันไม่ได้,คนไม่มีความคิด

12.ความฉลาด(Intelligent)

รู้เห็นตามที่เป็นจริง,รู้จักเลือกเฟ้น,เป้าหมายของการฝึกมาทั้งหมด ฝึกแสดงความคิดเห็นของตนเอง,แสวงหาประโยชน์จากทุกสิ่งที่เห็น,มีอิสระทางความคิด,หัดเปรียบเทียบ

13.การแนะนำตนเอง(Auto-suggestion)

รู้จักตนเอง มีตนเป็นที่พึ่ง เช่น เรามีความจำดี,ทำใจเป็นสมาธิ,พูดออกมาและคิดสม่ำเสมอ

14.การชนะตนเอง(Self-control)
ที่ฝึกมาทุกข้อเพื่อการรู้จักฝืนใจตัวไม่ทำสิ่งที่ผิด ทำในสิ่งที่ถูก การชนะใจตนเองเป็นความชนะที่ดีที่สุด และแสดงถึงความฉลาดที่เกิดขึ้นในการควบคุมความคิดและการแสดงออกด้วยการพูดและการกระทำ

สามารถพัฒนาโดยการฝึกสมองหัดสร้างความคิดให้เกิดแก่ตน เป็นการสรุปใจความสำคัญที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องใช้ทุกหัวข้อที่วิเคราะห์แยกส่วนให้เข้าใจกระบวนการคิดรวมเข้าด้วยกัน ผู้ใดเข้าใจและนำไปใช้ได้ย่อมเกิดการพัฒนาทักษะการคิดอันนำไปสู่ความฉลาด สร้างความสุขแก่ตนโดยไม่ทำร้ายผู้อื่น

การเรียนรู้สู่ความเป็นอัจฉริยะนั้น ไม่เป็นการกำหนดขอบเขต หรือการกดขี่ทางความคิด ความฉลาดไม่สามารถกำหนดโดยตัวเลขหรือเครื่องมือวัดถุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากความฉลาดไม่มีขอบเขต การเป็นอิสระที่จะคิดในเรื่องที่ควรคิดเป็นหนทางสู่ความเป็นอัจฉริยะซึ่งอาจคิดไม่เหมือนผู้อื่น หรือคิดในสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง ทีสำคัญคือการกำเนิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเกิดศาสตร์สาขาต่างๆขึ้นมากมายรวมทั้งวิทยาศาสตร์ จากนักคิด อัจฉริยะยุคต่างๆจนถึงปัจจุบันและการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งต่างๆมากมาย ดังนั้นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆที่ตนสนใจ

ยกตัวอย่างเช่น ศาสดาของศาสนาต่างๆ ที่คิดหาหนทางพ้นทุกข์ หาทางเพื่อความสุขสงบ โดยไม่ได้ไปศึกษาค้นคว้าที่สถาบันใดๆมาก่อนแต่ให้กำเนิดศาสนาซึ่งไม่มีผู้ใดเคยคิดมาก่อน จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องวัดไอคิวของอัจฉริยะเหล่านั้นที่ฉลาดกว่ามนุษย์ปัจจุบันซึ่งกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ไม่อาจกำหนดได้
นักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็คิดเรื่องต่างๆสำเร็จได้ในเวลาที่ไม่ได้คิด

พัฒนาสมองสู่ความเป็นเลิศ อิสระทางความคิดที่ไร้ขอบเขต ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง คนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันที่มีสมองมีความคิด การอบรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่อยากจะเป็นอัจฉริยะ และอัจฉริยะสร้างได้ทันที ที่รู้จักคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น